Thalassoethnography
A contribution at Marine STSing Group
I warmly invite you to join my upcoming talk at the Marine STSing Group on January 29th, 2025 (10-11h CET), where I'll be presenting "Diving into Underwater Anthropocene: Vital Materiality and the Becoming of a Shipwreck."
Drawing from my research from the Gulf of Thailand, I'll explore how shipwrecks transform into dynamic sites where human artifacts meet marine ecosystems, offering unique perspectives on the material dimensions of the Anthropocene beneath the waves.
This session is part of the Marine STSing Group's winter program, which provides a platform for engaging discussions on marine science and technology studies.
“จักรกริช สังขมณี” มานุษยวิทยามหาสมุทร ถอดรหัสมนุษย์ในระบบนิเวศใต้ทะเล
หลายสิบปีก่อน ในวันที่ “การสร้างเขื่อน” เป็นทั้งแนวทางพัฒนาจากภาครัฐ และสาเหตุของการลุกฮือต่อต้านจากภาคประชาสังคม เวลาเดียวกันนี้ จักรกริช สังขมณี นักมานุษยวิทยาเลือกศึกษาวิธีคิดของ “วิศวกรสร้างเขื่อน” เพื่อถอดรหัสว่า คนกลุ่มนี้มีการผลิตสร้างทางความรู้และความคิดอย่างไร ถึงตัดสินใจเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญสำหรับการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้
“ไม่มีองค์ความรู้ใดที่แยกออกจากความเป็นสังคม แม้กระทั่งสิ่งที่เรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์” คือส่วนหนึ่งของเนื้อหาโดยสรุปจากงานชิ้นนั้น ยกตัวอย่างกับคำถามที่ว่า “สร้างเขื่อนตรงนี้ดีมั้ย หรือได้ไหม?” ยังคลุมด้วยนัยทางสังคม การเมือง และการจัดสรรผลประโยชน์ พอๆ กับหลักวิศวกรรม
งานล่าสุดของเขาก็เช่นกัน นี่คือบันทึกประสบการณ์ภาคสนามใต้มหาสมุทร และนำเสนอแนวคิดภววิทยาสนามและชาติพันธุ์วรรณามหาสมุทรผ่านการนำตัวเองเข้าไปทำงานกับสนามที่ใต้ท้องทะเล ซึ่งท้าทายและพ้นข้ามกรอบความคิดเรื่องสาขาวิชาแบบดั้งเดิม
Humanity in Symbiosis: Lessons from the Deep
Last February on a stage at TEDx Chiang Mai, I was priviledged to be able to stand on a red-circled carpet and deliver my talk as an STS anthropologist and advanced scuba diver working to understand posthuman interconnectedness. On the stage, I shared a journey that began as a dive into human culture and morphed into an immersion into the depths of the ocean. As an anthropologist, my work is predicated on observation, a deeply embedded look into the intricacies of human societies, and the unspoken contracts that bind us to our environment. But it was the discovery of my own vulnerability to depression and the therapeutic solace I found in scuba diving that took my understanding of human connectivity to another level. This blog post is a reflection of that odyssey, a contemplation on our relationship with technology and the environment.
เปิดตาใต้มหาสมุทร: มุมมองพ้นมนุษย์ วัตถุ และชีวิต
สามย่านเสวนาชวนทุกคนลงไปดำน้ำกันในหัวข้อ “เปิดตาใต้มหาสมุทร: มุมมองพ้นมนุษย์ วัตถุ และชีวิต“ในวันพุธที่ 20 มีนาคม 2567เวลา 16.00-18.00 น. ณ Co-working Space ชั้น 4 อาคารเกษมอุทยานินคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถ่ายทอดสดทาง Facebook Fanpage: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
What can we learn from coral and underwater symbiosis?
ใน TEDxChiang Mai จักรกริชพูดถึงความสัมพันธ์เชิงภววิทยาหลายแง่หลายมุมที่พ้นจากเรื่องราวที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง จักรกริชใช้พื้นที่ใต้น้ำทำงานภาคสนามเพื่อมองหาหนทางที่จะทบทวนถึงตำแหน่งแห่งที่ของมนุษย์ในข่ายใยแห่งระบบนิเวศที่ขมวดพันกัน
หนังสือ “มานุษยวิทยา มหาสมุทร ชาติพันธ์ุวรรณาด้วยเทคโนโลยี สปีชีส์ วัตถุ และเรื่องเล่าใต้ท้องทะเล”
ผมเขียนหนังสือเล่มนี้ในช่วงเวลาที่ตนเองรู้สึกเปราะบางมากที่สุด เปราะบางทั้งต่อตนเองและต่อสรรพสิ่งรอบตัว ผมเองอยากให้ผู้อ่านอ่านมันด้วยความรู้สึกเปราะบางด้วยเช่นกัน การยอมรับในความเปราะบางของความเป็นมนุษย์ จะให้เราจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของเราใหม่ ในความสัมพันธ์ที่เชื่อมร้อยพึ่งพิงต่อกันมากขึ้นกับทุก ๆ สิ่งรอบตัว
ท่ามกลางโลกที่กว้างใหญ่ใบนี้ หนึ่งในพื้นที่ที่จะทำให้มนุษย์อย่างเรารู้สึกเปราะบางได้มากที่สุดก็คือใต้ท้องทะเล ท้องทะเลที่กว้างใหญ่เป็นพื้นที่ที่ไม่ได้มีไว้สำหรับการอยู่อาศัยของมนุษย์ เราต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีและสภาวะแวดล้อมอย่างมากในการอนุญาตให้เราเข้าไปอยู่ที่นั่นได้ ท้องทะเลยังเป็นพื้นที่ที่ครอบครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของโลกใบนี้ นั่นก็แสดงว่าโลกใบนี้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์เป็นเจ้าของ
ถึงเวลาแล้วที่เราจะดำดิ่งเข้าไปในพื้นที่ที่เปราะบางแห่งนี้ด้วยกัน ผมหวังว่าความเปราะบางที่ถูกเล่าผ่านตัวอักษรและภาพในเล่มนี้จะช่วยนำพาให้เราค้นพบความเข้าใจและสายสัมพันธ์ใหม่ ๆ ของชีวิตไม่มากก็น้อย
มานุษยวิทยามหาสมุทรกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
Society in Perspective EP:1 มานุษยวิทยามหาสมุทรกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกริช สังขมณี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Underwater Aesthetics / สุนทรียศาสตร์ใต้ทะเล
สไลด์จากวิชา TU 102 สุนทรียศาสตร์กับชีวิต บรรยายให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2565
ใต้ท้องทะเล 20,000 โยชน์ : ความเป็นชาย เทคโนโลยี สงคราม และมนุษยสมัย
ใต้ทะเล 20,000 โยชน์ เป็นนวนิยายแนวผจญภัยแนววิทยาศาสตร์คลาสสิกที่เขียนโดย Jules Verne ตีพิมพ์ในปี 1870 เรื่องราวติดตามการเดินทางอันน่าทึ่งของศาสตราจารย์ Pierre Aronnax ผู้ช่วยผู้ซื่อสัตย์ของเขา Conseil และนักฉมวก Ned Land ซึ่งกลายมาเป็นแขกรับเชิญบนเรือโดยไม่ได้ตั้งใจในเรือดำน้ำ Nautilus ซึ่งควบคุมโดยกัปตัน Nemo ผู้ลึกลับ เนื้อเรื่องของนวนิยายเรื่องนี้เกี่ยวกับตัวเอกของเรื่อง ศาสตราจารย์ Aronnax นักวิทยาศาสตร์ผู้รอบรู้และใจกว้างที่พยายามสำรวจและเข้าใจสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ร่วมกับพรรคพวกของเขา เขาจับพลัดจับผลูให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการผจญภัยใต้น้ำในการเดินทางเป็นระยะทางร่วม 20,000 โยชน์ เพื่อสำรวจภูมิภาคใต้ทะเลต่างๆ และพบเห็นสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลอันน่าสะพรึงกลัว
ที่ไหน คือ อย่างไร : ว่าด้วยภววิทยาของสนามใต้ท้องทะเล
นักมานุษยวิทยามักถูกถามว่าทำงานภาคสนามที่ไหน มุมมองภาคสนามที่มีฐานคิดเชิงพื้นที่ ทำให้สนามกลายเป็นสิ่งที่อยู่ที่นั่น ซึ่งรอคอยให้นักมานุษยวิทยาเข้าไปทำงาน และอธิบายลักษณะของมันผ่าน "งาน" ของนักมานุษยวิทยา
บทสนทนานี้จะชวนกลับมาทบทวนแนวคิดว่าด้วยงานภาคสนามเสียใหม่ และย้ายความสนใจจาก "งาน" ไปสู่ "สนาม" โดยมองสนามไม่ใช่เป็นพื้นที่แต่เป็นความสัมพันธ์ ผ่านการตั้งคำถามว่าสนามเป็นอย่างไร มันประกอบขึ้นมาอย่างไร จากอะไร ในความสัมพันธ์รูปแบบไหน จุดสนใจของงานภาคสนามไม่ใช่การสนใจแต่เพียง "งาน" ของนักมานุษยวิทยาในสนามเท่านั้น หากแต่ต้องตั้งคำถามพื้นฐานว่าจริง ๆ แล้ว "สนาม" ที่กำลังเข้าไปนั้น มันมีภววิทยาในลักษณะอย่างไรด้วย
บทสนทนานี้จะหยิบยกสนามของการทำงานสนามใต้ท้องทะเล ผ่านการทำความเข้าใจวัตถุภาวะเชิงผัสสารมณ์ (affective materiality) มาเป็นตัวอย่างของการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณาว่าด้วยความเป็นท้องทะเล บทสนทนานี้เสนอว่า ไม่ต่างจากความเป็นสังคม ซึ่งไม่อาจอนุมานเอาได้ งานภาคสนามจึงเป็นการทำความเข้าใจภววิทยาของสนามที่ต้องการอธิบายสนามในฐานะกิริยาของการประกอบร่วมและการดำรงอยู่ของมัน