Our team members :
-
จักรกริช สังขมณี
Urban Climates and Micro-Ecologies of Speculative Infrastructures
Bangkok is witnessing numerous climate-related changes. And they pose questions about the resilience and vulnerability of the city. My research seeks to understand the relations between urban microclimate regimes, the perceptions of city people, and their actions in anticipating and responding to the effects of climate change, ranging from mundane to speculative engagement.
I use Benjakitti Forest Park, a recently opened rewilding project in the heart of Bangkok, as a portal to understand urban concerns and the city's anticipated future. The park's design is innovative in that it deals with unsettling ecology, spatial resilience, social and climatic challenges, as well as the unorthodoxy of urban middle-class aesthetics. This "ecological infrastructure" can be viewed as a speculative attempt to live and become with the city's perennial flooding, waste water, urban heat island, the lack of animal habitat, polluted air, limited recreational space, and the challenges of excess materials from urban gentrification.
Unlike managed green space like public parks that maintain a static appearance from the time of construction, rewilding urban landscapes are ever-changing organic assemblages that allow multi-species to develop, flourish, interact, and sometimes disappear. In addition to being a public space for human recreation, there are also many "infra" structures beneath the surface that perform functions beyond human perception and sensitivity.
-
วาสนา ศรีจำปา
อาหารของคนเมือง : การทำความเข้าใจสภาวะเปราะบางของกรุงเทพมหานครผ่านอาหาร
ความเป็นเมืองในสังคมสมัยใหม่ (modern urbanity) มีสภาวะเปราะบาง (precarity) ที่หลากหลาย โดยความเปราะบางดังกล่าวเกิดจากบริบทของความเป็นเมืองที่ดำรงซ้อนทับกันอยู่ในหลายมิติ เช่น มิติเชิงกายภาพ มิติเชิงสังคมวัฒนธรรม มิติทางเศรษฐกิจ และมิติทางด้านคุณค่า ทั้งนี้ สภาวะเปราะบางของความเป็นเมืองสามารถทำความเข้าใจได้จาก การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์อาหารในเมืองกับผู้คนที่อยู่อาศัย ซึ่งเกิดขึ้นในรูปแบบที่หลากหลาย
การศึกษาครั้งนี้เลือกศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าวผ่านการติดตาม (trace) สถานการณ์อาหารของกลุ่มผู้คน 4 กลุ่ม คือ สถานการณ์อาหารของคนที่ดำรงชีวิตอยู่บนพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่มีความไม่มั่นคง (แรงงานรับจ้างทั่วไป) สถานการณ์อาหารของคนที่ดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่กายภาพแบบสำนักงาน (พนักงานออฟฟิศ) สถานการณ์อาหารของคนที่ดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางเงื่อนไขด้านความเชื่อและวัฒนธรรม (พระสงฆ์) และสถานการณ์อาหารของคนที่สมาทานค่านิยมชนชั้นกลางที่ใส่ใจสุขภาพ (คนกินคลีน)
โดยการศึกษาครั้งนี้เชื่อว่า การติดตามทำความเข้าใจสถานการณ์ของอาหารในแง่ของการไหลเวียนของวัตถุ (material flows) กับผู้คนในเมือง จะทำให้เห็นภาพของบริบทความเป็นเมืองและสภาวะของความเปราะบางดังกล่าวได้ การศึกษาครั้งนี้ จึงเป็นการศึกษาพื้นที่ (spatiality) ของความเป็นเมือง ผ่านการทำความเข้าใจการไหลเวียนของวัตถุสภาวะ (materiality) ของอาหาร
-
ปิยเทพ ตันมหาสมุทร
การอยู่อาศัยในสภาวะวิกฤต: ความหนืดพรุนและการประกอบร่วมของบ้าน-เมืองในกรุงเทพมหานคร
งานศึกษาชิ้นนี้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ พื้นที่ของการอยู่อาศัย (บ้านและเมือง) และเชื้อโรค (โควิด-19) ในฐานะกระบวนการประกอบร่วมเชิงภววิทยาในช่วงเวลาของการแพร่ระบาด ซึ่งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางในการควบคุมจัดการและอยู่ร่วมกับโควิด-19 และการอยู่อาศัยในเมือง
ในการทำความเข้าใจกระบวนการดังกล่าว ผู้ศึกษาได้นำแนวคิดการประกอบร่วมของเมือง (Urban Assemblage) โดย Colin McFarlane (2011) มาใช้อธิบายสภาวะการประกอบร่วมของที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ซึ่งเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ทำให้ที่อยู่อาศัยต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องตามนโยบายของภาครัฐที่ต้องการควบคุมการระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงการกลายเป็นสถานที่ของการกักตัวควบคุมผู้ติดเชื้อ
นอกจากนี้ ผู้ศึกษายังได้นำแนวคิดเรื่องความพรุน/ ปรุโปร่ง (porosity) ของพื้นที่อยู่อาศัยและของสมาชิกในพื้นที่อยู่อาศัยแบบต่างๆ ในช่วงที่ผู้อาศัยเผชิญกับสภาวการณ์การเว้นระยะห่างทางสังคม กำแพงของบ้านที่แม้จะทำหน้าที่ปกป้องผู้อาศัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แต่มนุษย์มักมีการเคลื่อนย้ายเข้า-ออกพื้นที่บ้าน รวมถึงวัตถุที่อาจนำพาเชื้อโควิด-19 เข้ามายังบ้านได้ แนวคิดความพรุน/ ปรุโปร่งจะช่วยในการทำความเข้าใจการไหลข้ามของพื้นที่และข้อจำกัดของการพิจารณาพื้นที่ทางกายภาพที่แยกขาดจากการเคลื่อนย้ายไหลเวียนของมนุษย์และสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์
-
ฐาปนพงศ์ ยีขุน
ในห้วงอารมณ์การเมือง : การเมืองผัสสารมณ์ในการประกอบร่วมการเคลื่อนไหวของ “ราษฎร”
“การเมือง” เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ต่างมองว่าควรเป็นเรื่องที่ใช้เหตุผลและตรรกะในการพูดคุย ถกเถียง หรือต่อสู้ รวมถึงว่าการใช้อารมณ์ความรู้สึกนั้นเป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงในกระบวนการประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ในการชุมนุมทางการเมือง อารมณ์ความรู้สึกมักเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่บ่อยครั้ง อารมณ์ถูกนํามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาตัดสินใจทางการเมือง ตลอดจนนําไปสู่การต่อสู้ การเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงของสังคม
งานวิจัยชิ้นนี้สนใจทำความเข้าใจว่า “อารมณ์” (emotions) “ความรู้สึก” (feelings) และ “ผัสสารมณ์” (affect) ของผู้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวในแนวร่วมของมวลชนกลุ่ม “ราษฎร” ตลอดจนบรรยากาศ (atmosphere) ที่เกิดขึ้น มีลักษณะเป็นอย่างไร และมีส่วนร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการ เคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างไร
การศึกษาไม่ได้จํากัดเพียงการชุมนุมประท้วงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น หากแต่ รวมไปถึงความเคลื่อนไหวทั้งในพื้นที่ออนไลน์และพื้นที่ออฟไลน์ ตลอดจนช่วงเวลาที่ไม่ได้มีการชุมนุมในพื้นที่ทางกายภาพ
นอกจากนี้ งานชิ้นนี้ยังมุ่งวิเคราะห์วัตถุ สิ่งของ สิ่งแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐาน หรือสิ่งที่ไม่ใช่ มนุษย์ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบกัน (assemblage) ในการประท้วงในฐานะ “ผู้กระทําการ” (agent) ว่ามีลักษณะอย่างไร และการประท้วงดังกล่าวนี้สะท้อนถึงความคาดหวัง (hope) ของ “ราษฎร” ได้อย่างไรบ้าง
-
วีรเศรษฐ ริ้วทอง
สภาวะดุร้ายของหลุมฝังกลบขยะ: กรณีศึกษาหลุมฝังกลบขยะในกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ
การวิจัยนี้อาศัยแนวคิดของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) ว่าด้วยการปกครองเหนือชีวิต (Governmentality) และแนวคิดพื้นที่ซ่อนเร้น (Heterotropia space) กับแนวคิดที่พิจารณาการเปลี่ยนแปลงในระดับภววิทยาแบบระนาบ (flat ontology) คือแนวคิดวัตถุนิยมใหม่ (New Materialism) ผู้วิจัยอาศัยแนวคิดทั้ง 3 นี้เป็นกรอบเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ที่ตัดข้ามกันไปมาในภูมิทัศน์ของหลุมฝังกลบขยะ แนวคิดของฟูโกต์มุ่งเน้นปฏิบัติการของมนุษย์ (humans agency) ท่ามกลางอำนาจและความรู้ที่เข้ามาจัดการกับหลุมฝังกลบขยะ ขณะเดียวกันแนวคิดวัตถุนิยมใหม่หยิบยื่นโอกาสการทำความเข้าใจปฏิบัติการของสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ (nonhumans agency) ในบริบทของมนุษยสมัยด้วยเช่นกันผู้วิจัยจึงเห็นว่าหลุมฝังกลบขยะเป็นความสัมพันธ์ที่มีอำนาจของมนุษย์ไปพร้อมกับภววิทยาเชิงระนาบ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือมนุษย์มีอำนาจปฏิบัติการต่อหลุมฝังกลบขยะ แต่ภายใต้ภูมิทัศน์ (landscapes) ที่มีการจัดการมีความสัมพันธ์แบบพ้นมนุษย์ที่ปรากฎ feral effects ของวัตถุภาวะที่มนุษย์ควบคุมไม่ได้ นอกจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หลุมฝังกลบขยะยังมาพร้อมกับความไม่เท่าเทียมทางสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วยเช่นกัน ผู้เขียนนำแนวคิดที่มีความต่างในระดับภววิทยาและญาณวิทยาเข้ามาเป็นระบบเชิงวิธีคิดทางทฤษฎีที่ใช้ทำความเข้าใจถึงความหย่อมย่าน (patchy) ของมนุษยสมัยมากขึ้น
Ongoing Research Projects:
Hope and Anxiety in Uncertain Futures
An Exploration of Multimodal Artistic Experimentation with Anthropocene in Thai Society
In the contemporary epoch characterized by unprecedented technological transformation and ecological destruction, societies globally are confronted with multifaceted challenges and profound futural anxiety. This research endeavors to investigate the ways in which Thai society, articulating across a spectrum of media—encompassing speculative fiction, visual arts, performance, and film—engage with and elucidate themes of social anxiety, speculation, and hope in relation to technological acceleration, environmental flux, and the impending epoch of the Anthropocene.
The significance of this research is multifaceted. Primarily, it seeks to augment the burgeoning corpus of scholarship on anthropology of art as a vehicle for social commentary and cultural expression within the context of global challenges. Furthermore, engaging with speculative anthropology and the interdisciplinary field of Science and Technology Studies (and Societies) (STS), it promises to illuminate a distinctively Thai perspective on the universal themes of technological anxiety and environmental concern, thereby enriching cross-cultural dialogues on these pressing issues based on perspective from the Global South. Additionally, this study will explore the efficacy of various artistic media in shaping public discourse and perceptions of complex societal issues, potentially illustrating the concerns and aspirations permeating contemporary Thai society.
Photo: Sompong Adusarabhan, MOCA, Bangkok
The Mystery of the Almost Disappearing Naga
On Urbanization and Cosmopolitics in Bangkok
This research project explores the precarious persistence of the naga, a more-than-mythic serpent, amidst the rapidly evolving urban landscape of Bangkok, Thailand. Drawing upon the concepts of cosmopolitics, more-than-human ecology, and urban politics, I argue that the naga’s enduring presence in Bangkok serves as an ontological reflection of the city’s complex interplay of forces, including rural-to-urban migration, capitalist expansion, environmental degradation, and political struggles. The study introduces the concept of the Nagacene, a hybridized framing that blends the Chthulucene’s emphasis on entangled human-environment relations with the Capitalocene’s critique of capitalist expansion, to illuminate the lived realities of rural-urban migrants from Thailand’s Isan region in the cosmopolitan spaces of Bangkok. By examining the naga’s cosmoecological significance in various urban spaces, the article highlights how the mythical serpent embodies the aspirations, challenges, and transformations of Bangkok’s marginalized communities. The study concludes by envisioning a cosmopolitical future for Bangkok, one that accommodates diverse modes of existence and reconfigures the city’s uneven assemblages to achieve greater recognition, acceptance, and coexistence for all its inhabitants, both human and more-than-human.
MultipliCity Anthropology Research Lab is in partnership with The Global Center of Spatial Methods for Urban Sustainability (SMUS) through SMUS Thailand