ที่ไหน คือ อย่างไร : ว่าด้วยภววิทยาของสนามใต้ท้องทะเล

นักมานุษยวิทยามักถูกถามว่าทำงานภาคสนามที่ไหน มุมมองภาคสนามที่มีฐานคิดเชิงพื้นที่ ทำให้สนามกลายเป็นสิ่งที่อยู่ที่นั่น ซึ่งรอคอยให้นักมานุษยวิทยาเข้าไปทำงาน และอธิบายลักษณะของมันผ่าน "งาน" ของนักมานุษยวิทยา

บทสนทนานี้จะชวนกลับมาทบทวนแนวคิดว่าด้วยงานภาคสนามเสียใหม่ และย้ายความสนใจจาก "งาน" ไปสู่ "สนาม" โดยมองสนามไม่ใช่เป็นพื้นที่แต่เป็นความสัมพันธ์ ผ่านการตั้งคำถามว่าสนามเป็นอย่างไร มันประกอบขึ้นมาอย่างไร จากอะไร ในความสัมพันธ์รูปแบบไหน จุดสนใจของงานภาคสนามไม่ใช่การสนใจแต่เพียง "งาน" ของนักมานุษยวิทยาในสนามเท่านั้น หากแต่ต้องตั้งคำถามพื้นฐานว่าจริง ๆ แล้ว "สนาม" ที่กำลังเข้าไปนั้น มันมีภววิทยาในลักษณะอย่างไรด้วย

บทสนทนานี้จะหยิบยกสนามของการทำงานสนามใต้ท้องทะเล ผ่านการทำความเข้าใจวัตถุภาวะเชิงผัสสารมณ์ (affective materiality) มาเป็นตัวอย่างของการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณาว่าด้วยความเป็นท้องทะเล บทสนทนานี้เสนอว่า ไม่ต่างจากความเป็นสังคม ซึ่งไม่อาจอนุมานเอาได้ งานภาคสนามจึงเป็นการทำความเข้าใจภววิทยาของสนามที่ต้องการอธิบายสนามในฐานะกิริยาของการประกอบร่วมและการดำรงอยู่ของมัน

 
Previous
Previous

ใต้ท้องทะเล 20,000 โยชน์ : ความเป็นชาย เทคโนโลยี สงคราม และมนุษยสมัย

Next
Next

Wreck Diving: ดำดิ่งสู่โลกที่อับปาง และสรรพางค์ของการฟื้นคืนชีวิต